กาแฟพันธุ์อาราบิก้า(Arabica) ถือเป็นที่สุดของกาแฟ เรียกว่าเป็นราชินีอยุ่บนยอดดอยได้เลยเพราะกาแฟพันธุ์อาราบิก้านี้ปลูกและดูแลรักษาค่อนข้างยากลำบากต้องปลูกในที่สูงและอุณหภูมิเหมาะสมจึงจะได้กาแฟรสดีไม่เพี้ยนไปจากพันธุ์ดั้งเดิม
กาแฟพันธุ์อาราบิก้า(Arabica) ถือเป็นที่สุดของกาแฟ เรียกว่าเป็นราชินีอยุ่บนยอดดอยได้เลยเพราะกาแฟพันธุ์อาราบิก้านี้ปลูกและดูแลรักษาค่อนข้างยากลำบากต้องปลูกในที่สูงและอุณหภูมิเหมาะสมจึงจะได้กาแฟรสดีไม่เพี้ยนไปจากพันธุ์ดั้งเดิม
ทำไมระดับความสูงของพื้นที่ถือว่ามีความสำคัญและมีผลต่อคุณภาพของรสชาติกาแฟกาแฟพันธุ์อาราบิก้า(Arabica) ?
ถามว่าปลูกที่ต่ำกว่า 800 เมตรได้ไหม ตอบว่าปลูกได้ครับ ปลูกง่าย ติดลูกดกด้วย แต่ในเรื่องรสชาติมันคนละเรื่องเลย ถ้าเราตั้งใจจะทำกาแฟอาราบิก้า ผลิตกาแฟให้มีคุณภาพ และมีความยั่งยืน แล้วล่ะก็ ความสูงของพื้นที่แปลงปลูก เป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆ ที่จะใช้ในการพิจารณา แปลงปลูกที่แนะนำส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกในพื้นที่ คือความสูงต้องตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไปเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ( metres above mean sea level, MASL) และมีความลาดเอียงของพื้นที่ปลูกไม่เกิน 30% อุณหภูมิที่พอเหมาะจะอยู่ที่ 15 – 25องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 60%
ดังนั้น จะสังเกตว่ากาแฟที่ปลูกบนดอยสูงๆจะเก็บเกี่ยวช้ากว่า บางแห่งเข้าเดือนมีนาคมแล้วยังเก็บไม่ได้เลย ซึ่งนั่นเองทำให้มีเวลาในการสร้าง สะสมความซับซ้อนของรสชาติและสร้างน้ำตาลเชิงซ้อนในเมล็ดได้นานกว่า ซึ่งจะส่งผลต่อรสชาติจะชัดมาก ยิ่งสูงก็จะยิ่งมีความซับซ้อนของรสชาติ มากขึ้น
แต่ก็ต้องยอมรับว่าผลผลิตก็จะไม่ได้ปริมาณมากเหมือนปลูกในระดับพื้นที่ต่ำกว่า จึงเป็นเหตุให้ เมล็ดกาแฟอาราบิก้า 100% ที่ดีๆ มีราคาแพง แต่หากท่านได้มาสัมผัสชีวิตของเกษตรกรชาวสวนกาแฟ ตั้งแต่การปลูก ดูแลรักษา เก็บเกี่ยวผลผลิต Process จนไปถึงการคั่วกาแฟแล้ว ท่านจะพบว่าราคาเมล็ดกาแฟอาราบิก้า ดีๆ ถุง 250 กรัม อยู่ที่ราคา 200-300 บาท นั้นไม่ได้แพงเลย
รสหอมกลมกล่อม ในเมล็ดกาแฟพันธุ์อาราบิก้ามีปริมาณคาเฟอีนน้อยกว่าพันธุ์โรบัสต้า ประมาณ 1 เท่า ผลผลิตของกาแฟทั่วโลกเป็น กาแฟพันธุ์อราบิก้า 75% กาแฟอาราบิก้านิยมนำมาคั่ว บด และชงโดยการกรองกากออกหรือที่ปัจจุบันนิยมเรียกว่า “กาแฟสด” นั่นเอง กาแฟพันธุ์อาราบิก้ามีปริมาณคาเฟอีนอยู่ประมาณ 1% แต่เป็นพันธุ์กาแฟที่มีผู้คนนิยมดื่มสูงกว่าพันธุ์อื่นๆ ราคาก็ค่อนข้างแพงกว่าพันธุ์อื่น
สายพันธุ์แท้ของกาแฟอาราบีก้า(Arabica coffee varieties)
กาแฟอาราบิก้ามีโครโมโซม ที่สามารถผสมตัวเองได้ ทำให้มีการผสมภายในสายพันธุ์ (inbreeding)โดยไม่ทำให้เกิดผลเสีย แต่อาจจะมีการแตกเหล่าขึ้นได้ เกิดเป็นสายพันธุ์ต่างๆ หลากหลาย พอแยกพันธุ์สำคัญได้ดังนี้
• พันธุ์คาติมอร์ (CATIMOR)
เป็นการเรียกชื่อพันธุ์มาจากคำว่า คาทูร่า(Catturra) และ ไฮบริโด เดอ ติมอร์ (Hibrido de Timor) เป็นชื่อเรียกตามการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างคาทูร่าผลแดง เป็นต้นแม่พันธุ์ และ ไฮบริโด เดอ ติมอร์เป็นต้นพ่อพันธุ์ ผลการผสมระหว่างลูกผสมข้ามชนิด ทำให้ลูกผสมที่ได้มีความต้านทานต่อโรคราสนิมและได้ลักษณะทรงเตี้ย ผลผลิตสูง และใช้หมายเลข CIFC 19/1 และ 832/1 ซึ่งกำหนดโดยนักปรับปรุงพันธุ์พืชที่ Centro de Investicao das Ferrugens de Cafeeiro (CIFC)ในประเทศโปรตุเกส
• ทิปปิก้า (TYPICA)
กาแฟนี้ถือเป็นสายพันธุ์ต้นทางที่สายพันธุ์กลายพันธุ์ออกไปหรือผสมข้ามสายพันธุ์ ชาวดัชเป็นคนกลุ่มแรกที่นำเอากาแฟไปปลูกทั่วโลกเพื่อการผลิตเชิงพาณิชย์และทิปปิก้าก็เป็นสายพันธุ์ที่พวกเขานำไปปลูก ผลกาแฟส่วนใหญ่จะมีสีแดงและมีศักยภาพด้านคุณภาพสูง แต่ก็มีข้อด้อยตรงที่ให้ผลผลิตน้อยเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น ทิปปิก้าปลูกกันอย่างแพร่หลายในทุกมุมโลก ดังนั้นมันจึงมีชื่ออยู่หลายชื่อ เช่น Criollo , Sumatra และ Arabigo
• เบอร์บอน (BOURBON)
เบอร์บอนเป็นสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์ตามธรรมชาติมาจากสายพันธุ์ทิปปิก้า โดยการกลายพันธุ์นี้อาจเกิดขึ้นที่เกาะรียูเนียน (Reunion) ซึ่งในสมัยนั้นยังเรียกว่าเกาะเบอร์บอนอยู่ ผลผลิตของสายพันธุ์นี้สูงกว่าทิปปิก้าและอุตสาหกรรมกาแฟชนิดพิเศษเชื่อว่ามันมีความหวานที่เป็นเอกลักษณ์ จึงทำให้มันเป็นสายพันธุ์ที่คนยกย่องและมองหาเบอร์บอนมีสีของผลหลากหลายสี ทั้งสีแดง เหลือง และส้ม ในอดีตมีการปลูกเบอร์บอนกันอย่างแพร่หลาย ทว่า ประเทศผู้ปลูกกาแฟหลายประเทศได้นำเอาสายพันธุ์อื่นที่ให้ผลผลิตดีกว่ามาปลูกแทน ซึ่งช่วงที่มีการเปลี่ยนสายพันธุ์ปลูกนั้น เป็นช่วงที่ตลาดยังไม่เติบโตและไม่สามารถทดแทนผลผลิตที่ต่ำด้วยราคาที่เป็นธรรมได้ ผู้ปลูกจึงหันไปปลูกกาแฟสายพันธุ์อื่นที่ให้ผลผลิตที่ดีกว่า
• มุนดู นูวู (MUNDO NOVO)
มุนดู นูวูเป็นสายพันธุ์ที่เกิดจากการผสมกันเองตามธรรมชาติระหว่างสายพันธุ์ทิปปิก้าและเบอร์บอน โดยสายพันธุ์นี้ตั้งชื่อตามเมืองในบราซิลที่มีการค้นพบสายพันธุ์ในยุคปี 1940s ลักษณะเด่นของมันคือให้ผลผลิตสูง ทนทานต่อโรค และปลูกได้ดีบนความสูงระดับ 1,000 – 1,200 เมตร ซึ่งเป็นความสูงทั่วไปในบราซิล
• คาทูรา (CATURRA)
คาทูราถูกค้นพบในบราซิลในปี 1937 โดยเกิดจากการกลายพันธุ์ของเบอร์บอน คาทูราให้ผลผลิตค่อนข้างสูงแต่มันอาจให้ผลผลิตที่มากเกิน จนตัวต้นกาแฟไม่สามารถรองรับปริมาณผลกาแฟได้จนทำให้เกิดอาการตายจากยอดหรือ ”Dieback” ได้ อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้สามารถเลี่ยงได้ด้วยการจัดการไร่กาแฟที่ดี กาแฟสายพันธุ์นี้ได้รับความนิยมอย่างมากที่โคลอมเบียและอเมริกากลาง แต่มันก็มีปลูกกันทั่วไปทั่วบราซิลด้วยเช่นกัน คาทูราให้กาแฟที่ค่อนข้างมีคุณภาพและคุณภาพของมันก็จะดีขึ้นตามความสูงของแหล่งปลูกและผลผลิตที่น้อยลงผลของคาทูรามีทั้งสีแดงและเหลือง และมันเป็นสายพันธุ์ที่มีต้นเตี้ยซึ่งมักถูกเรียกว่าต้นแคระหรือกึ่งแคระ (Dwarf or Semi-Dwarf) ซึ่งได้รับความนิยมมากเพราะง่ายต่อการเก็บด้วยมือ
• คาทุย (CATUAI)
คาทุยเป็นสายพันธุ์ที่เกิดจากการผสมกันระหว่างสายพันธุ์คาทูราและมุนดู นูวู สายพันธุ์คาทุยเกิดขึ้นในยุค 1950s ถึง 1960s โดยเป็นผลงานของสถาบัน Instituto Agronomico da Campinas ในบราซิล คาทุยมีลักษณะเด่นของมุนดู นูวูซึ่งมีผลผลิตสูงและแข็งแรง ซึ่งผลของคาทุยนั้นมีทั้งสีแดงและเหลืองเหมือนสายพันธุ์คาทูรา
• มาราโกกิบ (MARAGOGYPE)
มาราโกกิบเป็นสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์มาจากสายพันธุ์ทิปปิก้า โดยถูกค้นพบครั้งแรกที่บราซิล มาราโกกิบมีจุดเด่นที่เป็นที่ต้องการคือเมล็ดกาแฟที่ใหญ่กว่าเมล็ดกาแฟพันธุ์อื่น ต้นกาแฟสายพันธุ์นี้ยังมีใบที่ใหญ่กว่าปกติ แต่ทว่ามันให้ผลผลิตที่ต่ำ มาราโกกิบมักถูกเรียกอีกชื่อว่า “กาแฟช้าง” หรือ “เมล็ดช้าง” (Elephant or Elephant Bean) เพราะเมล็ดที่ใหญ่ของมัน ทั้งนี้ผลของมาราโกกิบนั้นมีสีแดงเมื่อสุก สายพันธ์นี้ถูกพัฒนาขึ้ในเคนย่าโดย Scott Labora-tories ในช่วงยุค 1930s โดยคัดสรรมาจากสายพันธุ์จากแทนซาเนียที่ทนต่อความแล้ง ผลกาแฟจะมีสีแดงเมื่อสุกและมีเมล็ดกาแฟที่ขนาดใหญ่กว่าปกติ สามารถให้ผลผลิตที่มีรสไม้อันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งมักจะมีรสคล้ายแบล็คเคอเรนท์ ค่อนข้างอ่อนไหวต่อโรคราสนิมและจะปลูกได้ดีกว่าในพื้นที่สูงสายพันธุ์นี้ถูกคัดมาจากสายพันธุ์เฟรนมิชชั่นเบอร์บอน ซึ่งเป็นสายพันธุ์จากเกาะเบอร์บอน (เกาะรียูเนียน) ที่ถูกนำไปปลูกที่แอฟริกา โดยปรากฏขึ้นที่แทนซาเนียเป็นครั้งแรกก่อนจะกระจายไปสู่เคนย่าในเวลาต่อมา สามารถให้ผลผลิตที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์แต่ปกติแล้วจะมีคุณสมบัติของกาแฟในแก้วที่ด้อยกว่าและอ่อนไหวต่อโรคราสนิม ทั้งนี้ จะให้ผลกาแฟสุกที่มีสีแดง
• เกชาหรือเกอิชา (GESHA OR GEISHA)
แม้จะยังมีการถกเถียงกันไม่จบว่าชื่อที่ถูกต้องของกาแฟสายพันธุ์นี้คืออะไร แต่ชื่อที่มักใช้กันเป็นประจำก็คือ “เกอิชา” เกชาเป็นชื่อของเมืองเมืองหนึ่งทางตะวันตกของเอธิโอเปีย และแม้ว่ากาแฟสายพันธุ์นี้จะถูกนำออกจากคอสตาริก้าเข้าไปปลูกที่ปานามา แต่เชื่อว่ากาแฟสายพันธุ์นี้แท้จริงแล้วมาจากเอธิโอเปีย เกอิชานับเป็นสายพันธุ์ที่สามารถให้ผลผลิตอันหอมหวน ซึ่งอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นสำหรับเกอิชาก็ทำให้ราคาของมันพุ่งสูงขึ้นมากเมื่อกี่ปีที่ผ่านมา เกอิชาก้าวขึ้นมาเป็นกาแฟที่ได้รับความนิยมมากนับตั้งแต่ปี 2004 ตอนที่ไร่กาแฟ Hacienda La Esmeralda ในปานามาเข้าร่วมการแข่งขันด้วยเกอิชาของพวกเขา ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่คนไม่คุ้นเคย มันจึงสามาถทำราคาในการประมูลได้ถึง $21 ต่อปอนด์ ซึ่งสถิติราคานี้ถูกทำลายในปี 2006 และอีกครั้งในปี 2007 และพุ่งขึ้นถึง $130 ต่อปอนด์เลยทีเดียว ซึ่งสูงกว่าราคากาแฟปกติเกือบ 100 เท่าและนี่ก็กระตุ้นให้ผู้ปลูกกาแฟในอเมริกากลางและอเมริกาใต้หันมาปลูกกาแฟสายพันธุ์นี้กัน
• พาคาส (PACAS)
พาคาสกลายพันธุ์ตามธรรมชาติจากสายพันธุ์เบอร์บอน โดยมันถูกค้นพบที่เอลซัลวาดอร์ในปี 1949 โดยครอบครัวพาคาส ต้นกาแฟพันธุ์นี้เป็นพุ่มเตี้ยง่ายแก่การเก็บเกี่ยวและมีผลสีแดง พาคาสให้ผลผลิตคุณภาพเทียบเท่าเบอร์บอนจึงทำให้มันเป็นที่ต้องการ
• วิลลาซาชิ (VILLA SARCHI)
สายพันธุ์นี้ตั้งชื่อตามเมืองในคอสตาริกาซึ่งเป็นที่ที่มันถูกค้นพบ โดยวิลลาซาชิกกลายพันธุ์ตามธรรมชาติมาจากสายพันธุ์เบอร์บอนและมีต้นเป็นพุ่มเตี้ยคล้ายสายพันธุ์พาคาส ปัจจุบันมีความพยายามในการผสมให้วิลลาซาชิให้ผลผลิตที่สูงขึ้น เพราะมันสามารถให้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ทั้งนี้ผลสุกของวิลลาซาชินั้นจะมีสีแดง
• พาคามาร่า (PACAMARA)
พาคามาร่าเป็นการผสมกันระหว่างพาคาส และมาราโกกิบ โดยผสมขึ้นที่เอลซัลวาดอร์ในปี 1958 ลักษณะคล้ายมาราโกกิบที่มีใบ ผลสุกสีแดง และเมล็ดขนาดใหญ่พาคามาร่ามีลักษณะรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งสามารถมีรสช็อคโกแลตและผลไม้ ทว่ามันอาจจะมีรสสมุนไพรและหัวหอมที่ไม่เป็นที่ต้องการด้วย
• เคนท์ (KENT)
ตั้งชื่อตามคนปลูกที่พัฒนามันขึ้นมาในอินเดียในช่วงยุค 1920s โดยเคนท์ถูกพัฒนาเพื่อสู้กับโรคราสนิม แต่โรคสายพันธุ์ใหม่ก็ยังสามารถทำลายกาแฟสายพันธุ์นี้ได้อยู่ดี
• S759
พัฒนาขึ้นที่อินเดียโดยเป็นลูกผสมระหว่างเคนท์กับ S288 ซึ่งเป็นสายพันธุ์เก่าที่ทนทานต่อโรคราสนิม S759 นิยมปลูกมากในอินเดียและอินโดนีเซีย แม้ว่าปัจจุบันมันจะเริ่มสูญเสียความสามารถในการต้านทานโรคราสนิมแล้วก็ตาม
• สายพันธุ์อาราบิก้าป่า (WILD ARABICA VARIETIES)
สายพันธุ์ที่กล่าวมาส่วนใหญ่แล้วมีพันธุกรรมที่คล้ายคลึงกันมาก เพราะพวกมันมีพื้นฐานมาจากสายพันธุ์เดียวกันก็คือ ทิปปิก้า อย่างไรก็ตาม ต้นกาแฟหลายต้นที่ปลูกในเอธิโอเปียนั้นไม่ได้มาจากกาแฟตระกูลนี้แต่เป็นตระกูลสายพันธุ์ท้องถิ่นที่อาจจะเกิดขึ้นจากการผสมกันระหว่างกาแฟตระกูลต่างๆและสายพันธุ์ต่างๆ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความพยายามอย่างจริงจังเพื่อจัดทำบัญชีรายการตระกูลกา หรือค้นคว้าเกี่ยวกับความหลากหลายทางสายพันธุ์และคุณสมบัติของกาแฟในแก้วของกาแฟป่าเหล่านี้
อันนี้ยังไม่หมดนะครับ สายพันธุ์อาราบิก้า ยังมีอีกมากมาย นี่ยังไม่รวมสายพันธุ์โรบัสต้าอีก แต่จะยังไงก็แล้วแต่ กาแฟที่ดีที่สุด คือกาแฟที่คุณดื่มแล้วชอบ เท่านั้นเอง
เมล็ดกาแฟสด เมล็ดกาแฟคั่ว อาราบิก้า 100% คลิก https://www.facebook.com/NorthDegreeCoffee
แหล่งอ้างอิงจาก www.panbeans.com/coffee-varieties